3 วิธีสำรวจ ช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้!

 

ไม่ว่าใครก็ควรมีโอกาสได้เรียนรู้ ช่างแว่นเลยจะมาแนะนำ '3 วิธีสำรวจ ช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้ ! '

เพราะพื้นฐานคือรากฐานสำคัญของคนทุกคน แม้แต่ช่างอย่างเรา ๆ เพื่อจะได้เข้าใจพื้นฐานงานสำรวจ-รังวัดกัน

ซึ่งการแบ่งประเภทสามารถทำได้หลากหลาย แต่สำหรับบทความนี้

จะแบ่งวิธีการหา-อุปกรณ์/เครื่องที่ใช้ มีรูปประกอบอ่านง่าย ๆ ชิว ๆ ไม่เกิน 5 นาที

1_Ground Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม.jpg

Ground Survey: สำรวจโดยวัดบนพื้นดิน

วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นการสำรวจยอดนิยมอันดับหนึ่งของวิศวกรรมก็ว่าได้ โดยการสำรวจบนพื้น

ดินนั้นส่วนจะเป็นการวัดระยะทางจุดพิกัด หรือวัดมุมแนวในพื้นที่ต่าง ๆ ของโครงการ สถานก่อสร้าง

 

ส่วนเครื่องมือสำรวจประเภทนี้ ก็จะหนีไม่พ้นความคุ้นเคยกันที่ดีของช่างสำรวจอย่างเรา ๆ เช่น

กล้องเซอร์เวย์ Total Station กล้องวัดระดับ กล้องวัดมุม รวมถึงอุปกรณ์เสริมงานสำรวจต่าง ๆ อาทิ

ล้อวัดระยะทาง ไม้สต๊าฟ เครื่องมือเลเซอร์ยิงแนว เป็นต้น


 

02 Aerial Survey สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม

Aerial Survey: สำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ

วิธีการสำรวจด้วยภาพทางอากาศได้รับความนิยมและ ถูกใช้งานน้อยสุดหากเทียบกับวิธีการอื่น ๆ

เพราะนอกจากหน้าที่ทำสำรวจเพื่อการทำแผนที่ภูมิวิธีการสำรวจนี้ มักจะเป็นตัวสำรองของวิธีการ

สำรวจแบบภาคพื้นดินซะมากกว่า ซึ่งภาพถ่ายนั้นสามารถมาจากเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ หรือ โดรน

ก็ได้

หลังจากนั้น ภาพถ่ายทางอากาศจะถูกนำมาใช้ 2 ลักษณะวิธี คือ การแปลภาพถ่าย

(Photo Interpretation) และ การวัดตำแหน่งบนภาพถ่าย (Photogrammetry)

 

ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ที่รู้จักกันหลักๆเลย ก็จะมีเครื่องคำนวณพื้นที่

บนแผนที่ (Planimeter), เครื่องวัดระยะทางบนแผนที่ (Map Meter) และกล้องอ่านภาพถ่ายทาง

อากาศซึ่งตามปกติแล้ว อุปกรณ์พวกเฉพาะทางพวกนี้ จะค่อนข้างหายาก แต่ทางบริษัทCST นั้น

สามารถตอบโจทย์ความต้องการของช่างสำรวจที่กำลังหาได้ครับ


 

 

03 Remote Sensing and GPS สำรวจโดยพิกัดและภาพจากดาวเทียม

Remote Sensing and Global Positioning System; GPS: สำรวจด้วยภาพถ่ายทางดาวเทียม หรือหาพิกัดตำแหน่งด้วยดาวเทียม

เป็นงานสำรวจด้วยข้อมูลจากดาวเทียมฟังดูค่อนข้างทันสมัย ทว่ารู้หรือไม่ในสมัยก่อนวิธีการนี้เป็น

วิธีที่ได้รับการยอมรับน้อยที่สุด เนื่องจากความไม่ค่อยแม่นยำของข้อมูลดาวเทียม จึงไม่สามารถนำ

มาใช้ในงานด้านวิศวกรรมได้

กลับกันในปัจจุบันที่ความสเถียรและถูกต้องมาเป็นอันดับต้น ๆ ในการหาตำแหน่งพิกัดนั่นทำให้

แม้แต่ GPS ตัวเล็ก ๆ เอง ก็เพียงพอสำหรับการทำงานสำรวจ รวมถึงประยุกต์ใช้งานในด้านอื่น ๆ อีก

มากมาย

 

ในวงการช่างสำรวจนอกจาก GPS แล้ว GNSS; อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รับสัญญาณดาวเทียม ก็เป็น

อีกหนึ่งพระเอกหลักในงานสำรวจประเภททำแผนที่เลยก็ว่าได้ โดยอุปกรณ์ที่เป็นแบรนด์ระดับโลก

ได้มาตราฐานสากลที่คุ้นเคย ก็ไม่พ้น GARMIN, SUUNTO, SANDING หรือแม้แต่แบรนด์ยุโรปน้อง

ใหม่ GEOMAX ของ CST เราก็ยังมีจัดจำหน่าย พร้อมสอนวิธีใช้งาน


 

Summary (สรุปเนื้อหา)

ถึงแม้ 3 วิธีสำรวจช่างสำรวจทุกคนต้องรู้ไว้ ! จะค่อนข้างเบสิคและคิดว่าช่างหลาย ๆ คน น่าจะรู้

ลึกกว่านี้อีกก็ว่าได้ แต่ช่างแว่นไม่อยากให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ ขาดพื้นฐานสำคัญเหล่านี้

รวมถึงเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ในช่วงยุคโควิด-19 แบบนี้ด้วยครับ

 

สรุปแบบให้จำง่าย ๆ เลยก็คือ “ด.อ.ดท.” |

 1.สำรวจบนพื้นดิน  2.สำรวจด้วยภาพทางอากาศ  

3.สำรวจด้วยภาพและพิกัดจากดาวเทียม



ถ้าท่านคิดว่าบทความนี้ดี ให้สาระกับเด็ก ๆ หรือคุยย้อนวัยกับเพื่อนร่วมรุ่น

ก็อย่าลืมกดแชร์กันนะครับ